ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน (Eclecticism)

ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน

             เนื่องจากปรัชญาการศึกษาแต่ปรัชญาล้วนมีแง่มุมและมีจุดเด่นกันไปคนละแบบจึงมีการเอาประเด็นต่างๆของปรัชญามากกว่า1ปรัชญามาผสมผสานขึ้นเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ

ปรัชญาการศึกษาไทย

             ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้สามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คือ พระพรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตโต)
             1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดยพระธรรมปิฎก  มนุษย์มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากชีวิตอื่นๆ คือมีองค์ประกอบภายในจิตใจที่เรียกว่า สติปัญญา  จึงทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และสามารถจัดปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายให้เกื้อกูลแก่การดำรงชีวิตของตน ทำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากอำนาจคอบงำของสิ่งอื่น ทำให้มีอิสรภาพ
             2.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
   การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาควรจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการต่อยอดความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกฝนขัดเกลาทางความคิด ความประพฤติ และคุณธรรม
             3.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของสาโรสบัวศรี
   การศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ การพัมฯขันธ์ 5  แนวทางตามหลักพุทธธรรม คือ มรร 8
              ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ และปัญญา นอกจากนั้นควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ตนเอง สิ่งแวดล้อม และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม  การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ได้แก่ การสอนตามขั้นทั้ง สี่ ของอริยสัจ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค   


                                                                                                     อ้างอิง

     ทิศนา แขมมณี .2554.ศาสตร์การสอน องค์ความรู้การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
                    กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย